วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ชวนลูกทำเค้ก

วันนี้เราสองคนก็หาไรซนกัน วันนี้เรามาทำบัตเตอร์เค้กกัน ให้คุณโชกุนได้ลงมือทำลงมือช่วยม่าม๊าเหมือนเดิม สนุกเช่นเคย แต่ที่ขาดไม่ได้คือต้องช่วยล้างด้วย เอารูปมาฝากกันนะคะ

เกือบลืม กิจกรรมนี้เด็ก ๆเค้าได้รู้จัก การชั่ง(เเม้เค้าจะอ่านเลขไม่ถูก แต่ว่าอย่างน้อยเค้าได้เรียนรู้ว่าการชั่งต้องทำแบบนี้ ) การตวง กี่ช้อนชา เท่าไหร่ ๆ การผสม การร่อนแป้ง
การสอนเหล่านี้เราสอนเค้าได้ทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษเลยนะคะ อยู่กันเองสอนกันเอง อยากจะสอนอะไรเราก็สอนได้ วันนี้เราอาจจะทำเค้กกันภาคอินเตอร์ เราก็พูดเป็นภาษาอังกฤษกัน อันนี้ถ้าแม่ไม่ข่ำชองทางด้านการทำอาหารและศัพท์ทางการทำขนมเท่าไหร่ เราก็ดู you tube ก่อนมาสอนลูกสบายมากคะ เราทำกันเองได้คะ การทำแบบนี้ดีอย่างเราได้ทบทวนภาษาอังกฤษของเราด้วย
ลองดูกันนะคะกิจกรรมนี้เด็กชอบคะเพราะว่าเค้าทำเสร็จเค้าจะรอคอยที่จะชิมเค้กที่เค้ามีส่วนร่วมในการทำ แล้วเค้าก็จะชมเองว่าอร่อยยยยย


ด้านในเนื้อเค้กพอได้อยู่


หลังจากทำเค้กจริง ๆเสร็จ เค้าไปเปิดตู้เย็นเห็นว่ามีกากถั่วเหลืองจากที่ทำน้ำเต้าหู้ทานกัน  บ้านเราเก็บไว้ให้ลูกเล่นต่อไม่ได้ทิ้ง (จริง ๆไม่ได้งกนะ แต่ว่ามันเอามาเล่นได้สนุกดี 5555 เค้าก็เล่นตามจินตนาการของเค้าไปขายเค้กขายไอศครีมไปตามเรื่อง)


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

โชคดีที่เราได้ทำอะไรที่เหมาะกับครอบครัวเรา

เรื่องที่ม่าม๊าคิดว่าม่าม๊าชอบการทำโฮมสคูล ให้โชกุน มากๆ คือ เราน่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเเละเหมาะสมกับการเป็นเด็ก ตัวอย่างในเรื่องง่าย ๆ คือ การได้ทำอาหารกันทุกมื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะว่าตอนเด็กม่าม๊าไม่มีโอกาส คือ กิจวัตรมันคือ รีบตื่น รีบเเต่งตัว รีบออกจากบ้านให้เร็วที่สุด มีแต่คำว่ารีบ (เพราะว่าบ้านอยูสุขมวิท 101/1 แต่ว่าเรียนพระโขนง ดูไม่ไกล แต่ว่าโห รถจะติดไปไหนคะ กทม) และสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำคือ การที่คุณยาย เอากล่องข้าวใส่ในรถเเล้วก็ป้อน ๆ รีบกินให้เสร็จแล้วอาจจะได้งีบต่ออีกหน่อย ทำแบบนี้ตั้งแต่อนุบาล ยัน จบประถม โหบอกตรง ๆ เบื่อ แต่ว่าตอนนั้นคิดว่าทุกคนต้องเป็นแบบนี้ เลยไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เล่าเรื่องตัวเองเพื่อจะยืนยันว่า ตัวเองคือ คนหนึ่งที่ต้องประสบกับกิจวัตรที่น่าเบื่อ ไม่เห็นจะเสริมสร้างสมองส่วนไหนขึ้นมาเลย แถมคุณภาพชีวิตดูเหมือนไม่เห็นจะดีเลย

พอมีลูก มันคือสวรรค์จริง ๆ ที่เราไม่ต้องรีบตื่น รีบแต่งตัว รีบออกจากบ้าน รีบเพื่อไปเข้าอยู่ในห้องเรียน แต่ว่าเรารีบเหมือนกันคะรีบเพื่อจะได้เล่นกันวันนี้เราจะเล่นอะไรกัน 

 กิจวัตรของบ้านเรียนของเรา คือ
ตื่นนอน อ่านนิทานสองเรื่อง แล้วก็ไปล้างหน้าแปรงฟัน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทำอาหารเช้าร่วมกัน  แล้วตอนนี้บ้านเราปลูกผักเอง ได้กินผักอินทรีย์ของตัวเอง ม่าม๊าชอบมากๆ เหมือนว่าไม่ต้องเอาเงินไปจ่ายค่าข้าวที่ร้าน ซึ่งเค้าไม่น่าจะล้างผักสะอาดอะไรมากมาย เราได้กินข้าวอินทรีย์ ทุกอย่างออแกนิค โหยมีความสุข  ความใฝ่ฝันเลยชอบ
หลังจากนั้นเราก็จะอาบน้ำ แล้วก็เล่นfree play กิจกรรมที่โชกุนชอบมาก ๆ คือวาดรูป นั่งวาดได้เป็นชั่วโมง ๆ หลังจากนั้นก็เรียนอะไรนิดหน่อย อ่านนิทาน แล้วก็จะได้เวลาที่เราจะทำกับข้าวกันอีกเเล้ว สนุกเราสองคนคิดสูตรอาหารสุขภาพกันสองคน บางวันเราก็ลองทำอาหารโดยไม่ใส่น้ำมันเราใช้น้ำแทน บางวันเราก็ทำข้าวผัดงาใส่ไข่ หรือว่าทำแพนเค้ก แล้วใส่ชีสสอดไส้   กินกัน สนุกมากช่วยกันคิดช่วยกันทำ เปิดโอกาสให้คิดให้ทำเองจริง นี่คือการเรียนโดยไม่ต้องเข้าห้องเรียนเลย แค่เดินเข้าห้องครัวเท่านั้นเอง  แล้วได้เรียนกันวันหนึ่งตั้งสามรอบ เพราะว่าทำอาหารทาน เช้า กลางวัน เย็น

เราทำโฮมสคูลไม่ว่าเราจะอยู่ทีไหนเมื่อไหร่เราก็สอนลูกได้ ดีจริงดีจัง นับวันยิ่งชอบและมั่นใจว่าตัวเองและครอบครัวเหมาะกับระบบแบบนี้มากกว่า

ในความคิดของม่าม๊าคิดว่าคงโฮมสคูลอีกนานเลยจนกว่า นักเรียนของม่าม๊าจะบอกว่าขอไปเรียนในระบบแล้วครับเพราะว่าในความคิดม่าม๊านั้นคิดว่า
####บางทีถ้าลองเดินไม่ต้องตามทางที่คนเค้าเดินกันเยอะ ๆ บ้างมันก็น่าจะดี ตรงที่เราไม่ต้องไปเบียดเสียดกับใคร สามารถหยุดพัก สูดอากาศ หรือชมนกชมไม้บ้าง ก็ไม่มีใครว่า เพราะว่าทางนี้มันโล่ง ไม่ค่อยมีคนเดิน แต่ว่าเราเลือกเดินในทางที่เราเราได้เดินจูงมือไปด้วยกันตลอดเส้นทาง เเละคนที่เรารักมีความสุข มันก็น่าจะเพียงพอเเล้ว ชีวิตคนเรามันสั้นนัก ครอบครัวเราไม่เคยคิดแม้แต่น้อยว่าต้องรีบทำงาน ๆ  หาเงินเยอะ  ๆ (ในกรณีนี้ไม่ใช่ว่าไม่หาเงินนะคะหาแต่ว่าไม่ได้คลั้งและคิดตลอดเวลาว่าจะต้องรวย รวยเท่านั้น) เราคิดว่าคนเราชีวิตมันไม่แน่นอนมีโอกาสที่จะอยู่ด้วยกันก็ตักตวงให้มากที่สุด  และฝึกฝนเค้าในโลกของความเป็นจริงมากที่สุด มาตรงนี้บางท่านก็จะบอกว่าถ้าโลกความจริง ทำไมไม่ไปเรียนในโรงเรียน สำหรับครอบครัวเราคิดว่าโลกในความเป็นจริง เค้าต้องเจอกับคนที่อายุหลากหลายไม่ใช่เท่ากันในห้องสี่เหลี่ยมแล้วมีคนคนหนึ่งยืนอยู่หน้าห้องคะ เพราะว่าในวันข้างหน้าไม่มีทางที่เค้าจะเจออะไรที่เป็นลักษณะนี้ ในการทำงานยังไม่เคยเห็นที่ไหนมีแต่คนอายุเท่ากันทำงานห้องเดียวกัน เราแค่ทำให้ลูกเราชินกับความเป็นจริงเท่านั้นเองโลกความเป็นจริงของลูกเราต้องเจอในสิ่งที่พ่อแม่เจอ จริง ๆ บางทีโหดกว่าการที่เค้าเข้าไปอยู่ในห้องเรียนด้วยซ้ำ เพราะว่า การไปเจอคนเยอะ ๆ บางคนก็สภาวะจิตเปิด คือ ฟังแล้วคิดตาม ส่วนบางคนก็สภาวะจิตปิด คือคิดว่า การไม่เดินตามใครนั้นคือเราทำร้ายลูก แล้วพูดจาไม่ค่อยดีกลับมากับลูกก็มี แต่เราก็จะบอกว่ามันเป็นเรื่องปกตินะลูก  (จริง ๆ โฮมสคูลมีมาเเล้ว 20 ปีนะนี่) ส่วนเรื่องเพื่อน ครอบครัวเราก็เห็นลูกมีเพื่อนปกตินะคะ เล่นกับคนอื่นได้ปกติ นะคะ คนที่เข้าใจการทำโฮมสคูลจะทราบว่าเด็กพวกนี้เค้ามีกลุ่มมีสังคมของเค้า เหมือนเด็กที่เรียนในระบบปกติคะ คือมีกลุ่มเพื่อนของตัวเอง แต่ว่าเด็กโฮมสคูลอาจจะมีหลายกลุ่มหน่อย กลุ่มเรียนศิลปะ กลุ่มเล่น กลุ่มพี่ กลุ่มน้อง
และพ่อแม่ถ้าเค้าเลือกทางเดินให้ลูกทางนี้เค้าไม่ทำลายลูกตัวเองหรอกคะ เค้าต้องจัดกิจกรรมให้ดูแล้วเหมาะสม กับลักษณะของลูกจริง ๆการทำแบบนี้ก็เหมือนกับการทำ child center นะคะ ดูตามผู้เรียนเป็นสำคัญจริง ๆ เพราว่าผู้เรียนมีคนเดียว เค้าต้องมีทักษะในการดำรงชีวิต และเค้าต้องทำงานให้เป็นเร็วที่สุดใน ซึ่งคนที่จะทำหน้าที่ได้ดีคือ พ่อแม่ จุดนี้เราจึงพยายามให้เค้าได้ทำงานกับเราตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มทีละนิดทีละหน่อย เท่าที่พอทำได้ ไม่เคยรู้สึกว่าการที่ลูกมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นเรื่องน่ารำคาณและเด็กทำไม่ได้ เราคิดว่าไม่ต้องรอจนกระทั้งจบปริญญาตรีแล้วค่อยมาเริ่มทำงาน จุดมุ่งหมายของเราคือ อยากให้ลูกเป็นคนที่ฉลาดในการคิด และ แก้ปัญหาที่ัมันจะเกิดขึ้นในชีวิตจริง ๆ และไม่เสียศูนย์หากเจอปัญหาในวันข้างหน้า เท่านั้นเองคะ  แต่ว่าทางเดินของใครของคนนั้นคะแล้วแต่จะเลือก เราชื่นชมหมดนะคะ ไม่เคยว่าใครเลย เห็นควมสามารถของเด็กที่แตกต่างหลากหลายเราก็ทึ่งในความเก่งของเด็กแต่ละคน และครอบครัวเราไม่เคยบอกมาต้องมาทำให้เหมือนเราถึงจะดีถึงจะถูกนะคะ เพราะว่าแต่ละครอบครัวก็มีความเหมาะสมไม่เหมือกัน แต่ว่า ณ ปัจจุบันบ้านเราครอบครัวเรายังสบายใจสบายกายกับวิถีแบบนี้อยู่คะ 

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

พลังของคำพูด ที่บางทีผู้ใหญ่อย่างเราอาจะมองข้าม

วันนี้อยากจะเสนอในเรืองคำพูดที่ตีตราเด็ก อำนาจของคำพูด

คนที่เลี้ยงเด็กทุกคนย่อมรู้ดีว่าไม่มีเด็กคนไหนน่ารักตลอด 24 ชม.ตลอด 365 วัน ในแต่ละวันแต่ละเดือนแต่ละปีที่เค้าเติบโต สิ่งที่ตามมาพร้อมความน่ารัก ความฉลาดของเด็กตัวน้อย ๆ คือ ปัญหาตามวัย ซึ่งพ่อแม่และคนเลี้ยงมีหน้าที่ทำความเข้าใจวัยของเด็กและช่วยเหลือเด็กให้ผ่านพ้นไปได้ ด้วยดี

ปัญหาของเด็กมีมากมาย หนึ่งในนั้นที่เบสิคมากคือ เรื่องการร้องไห้ ซึ่งในการร้องไห้มีหลายระดับ ระดับเบา ๆ จนถึง ระดับเยอะๆ เเต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หน้าที่ของเราคือไม่ใช่ซ้ำเติม ตีตรา ใด ๆ กับเด็ก ทุกสิ่งจะผ่านไปได้ต้องช่วยเหลือกัน จริง ๆ การเลี้ยงเด็กมันเหมือนกันทำงานเป็นทีมนะคะ ควรมีการพูดจาให้กำลังใจกันมากกว่า ที่จะจับจ้องว่ามีปัญหาตรงไหน

อยากให้ผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านลองนึกดูว่า พฤติกรรมที่ดูไม่น่ารักแค่เพียงชั่วครู่สามารถลบภาพความน่ารักออกไปได้หมดเลยเชียวหรือ ผู้ใหญ่บางท่านไม่เข้าใจก็ ว่าและตำหนิทันทีกับพฤติกรรมเด็กที่ไม่เหมาะสมอาทิเช่น  ก้าวร้าว เอาแต่ใจ อารมณ์รุณแรง ไม่น่ารัก เกเร  เป็นต้น

โดยส่วนตัวก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็ก แต่ว่าเเค่รู้สึกว่า บางทีเราควรยุติธรรมกับพวกเค้า ผู้ซึ่งอายุยังไม่มากไม่มาย และไม่มีทางอธิบายเท่าไหร่หนัก คิดว่า จริง ๆ ถ้าเด็กไม่ได้เป็นคนที่มีพฤติกรรมทำนองนี้ตลอดทุกครั้งก็จงอย่าเพิ่งตกใจ กรี๊ดร้อง และด่วนสรุปในทันทีขนาดนั้น คือ แทนที่เราจะไปด่วนสรุปแล้วตีตรา( label)
       "ขออธิบายถึงคำว่า การตีตรา เป็นคำพูดที่ผู้ใหญ่ไปนิยามให้กับเด็กและ การตีตราในสิ่งที่ไม่  ปรารถนา เป็นการง่ายมากที่จะตีตราที่ไม่เป็นประโยชน์ให้แก่เด็ก ซึ่งอาจจะติดตัวเธอ และมีอิทธิพลต่อภาพการมองตัวเองไปจนเติบโตเมื่อเป็นผู้ใหญ่ "(นำมาจากหนังสือ เด็กตามธรรมชาติ สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา หน้า 90) 

เด็กในทันทีนั้น เราเปลี่ยนมาเป็นช่วยเหลือเด็ก ค่อพูดค่อยจากับเด็กน่าจะดีกว่า ดีกว่าไปสรุปเรียบร้อยเลยทันทีว่า โอ้ยเป็นเด็กงี้ ๆ เพราะว่า เค้าไม่ได้มีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยครั้งนี้แค่ครั้งแรกและครั้งเดียวอยู่ ยิ่งถ้าเราไป ตื่นเต้นตกใจมาก และตำหนิมาก พฤติกรรมนี้อาจจะยิ่งไปกันใหญ่หรือไม่  เพราะว่า อำนาจของถ้อยคำเชิงบวกมีพลังมากแค่ไหน คำพูดถ้อยคำเชิงลบก็มีพลังมากเท่านั้น แล้วเหตุใด ผู้ใหญ่(โดยเฉพาะคนที่มีความสำคัญต่อตัวเด็ก) พูดง่าย ๆ คนในครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับเด็กน้อย ๆ เหล่านี้ จะส่งผ่านถ้อยคำเหล่านี้ให้เด็กฟัง หรือ คนเลี้ยงเด็กฟัง เพราะว่าถ้าเด็กยังเล็ก พูดบ่อย ๆ ก็สะสม และสั่งสอนให้เค้ามีพลังเชิงลบในสิ่งที่เราพูดนั้นละ ส่วนตัวคนเลี้ยงเด็กนั้นพอได้ยินถ้อยคำเชิงลบ แน่นอนคงไม่มีใครมีกำลังใจอะไรมากมาย คงจะหดหู่ด้วยซ้ำไป ว่า อืม เกิดอะไรขึ้นน้า เราทำอะไรผิดพลาด ทำไมลูกเราทำพฤติกรรมเหล่านี้นะ (ณ ที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถตำหนิเด็กนะคะ แต่ว่าคิดว่าควรเเทนที่การตำหนิด้วยการพูดคุยในหลักเหตุผลกันเสียมากกว่า ว่าเกิดอะไรขึ้น เเล้วพอจะช่วยกันแก้อย่างไรดีน้า คุยกันยื่นมือเข้ามาช่วย พลังเหล่านี้จะทำให้มีกำลังใจทั้งผู้เลี้ยงเด็ก และ ตัวเด็กเองมากกว่า ไม่รู้นะคะนี่พูดในฐานะ เคยมีประสบการณ์เหล่านี้มาก่อน รู้สึกได้ว่า หดหู่มาก เวลาที่ลูกทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในสายตาผู้ใหญ่ไป แล้วโดนตำหนิ คือ ลูกไม่รู้เรื่องเท่าไหร่หรอกคะ แต่ว่าตัวแม่ ซึ่งเรายอมรับว่าเราทุ่มเทเต็มที่กับลูก เวลาโดนแบบนี้เราจะรู้สึก หดหู่ แต่ว่าถ้าเราได้ยินคำพูดเชิงเข้าใจให้กำลังใจเราจะมีพลังที่ว่า จะแก้ไขยังไงต่อไป มีคนเข้าใจ แล้วปัญหาผ่านไปได้อย่างรวดเร็วกว่า

อยากให้สังคมไทยมีคนเข้าใจเด็กและปฎฺิบัติต่อเด็ก เคารพสิทธิเด็กเหมือนเด็กเป็นผู้ใหญ่คนนึง คือ ควรจะให้เกียรติเค้า ฟังเหตุผลกันก่อน อย่าใช้คำพูดเพื่อแค่ว่าอยากให้เราหายโมโห ณ ตอนนั้น หรือการทำโทษเเรง ๆ กับเด็ก เพราะว่าเค้าก็กำลังเรียนรู้และให้เกียรติ คุณและคนอื่นอย่างที่คุณทำกับเค้าเหมือนกัน