วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องพี่พี่ น้อง ๆ

วันนี้แนนได้เจอกับกลุ่มเพื่อนที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน หลายคนก็บ่นว่า เบื่อมากเลยทำไมคนพี่ต้องคอยแกล้งน้อง มีทีท่าว่าอิจฉาน้อง

เราเลยถามเค้าไปว่า เธอให้อภิสิทธิ์คนน้องตลอดเลยด้วยคำพูดทำนองว่า

"ต้องให้น้องก่อนนะ "  
อันนี้พูดตลอดทุกครั้งก็ไม่ไหวนะคะ ฟังเเล้วเบื่อเเทนเด็ก

"ให้น้องก่อนเพราะว่าน้องเด็กกว่า"
อันนี้ฟังแล้วก็แบบ โห แล้วน้องเมื่อไหร่จะโตกว่าอะในเมื่อฐานะเค้าก็คือน้องอยู่แล้วทำไงน้องก็ไม่มีทางแก่กว่าเรา ชาตินี้คงต้องให้น้องก่อนตลอด

"อย่าทำน้อง"
"อย่าแกล้งน้อง"
"น้องๆๆๆๆๆๆๆ" สารพัดจะน้องเปล่า

เพื่อนสาวตอบกลับมาว่า เออพูดทุกประโยคเลย

เราเลยบอกว่า นั้นละทำไมลูกที่โตกว่าถึงมีอาการเหล่านั้น

ในความคิดของตัวเองก็ไม่ชอบเหมือนกันนะคุำพวกนี้ว่า น้อง ๆ คือ ส่วนตัวรู้สึกเหมือนว่า เอ้า มันผิดด้วยหรือที่เราเป็นพี่ อะ  จริง ๆ ถ้าลองเปลี่ยนประโยคเป็นทำนองว่า
 "เราลองให้น้องเลือกก่อนเนาะว่าจะเอาแบบไหน ลองเดากันเล่น ๆ ไหมว่าน้องจะเอาแบบไหน ดูสิว่าแม่หรือว่าลูกจะทายถูก" แนวเชิญชวนนิดนึงไม่ต้องสั่ง น่าจะไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดี เพราะว่าในโลกนี้คงไม่ชอบให้ใครมาสั่ง แล้วนี่สมมติว่าแม่สั่งว่า ให้น้องก่อนนะ โอ้ย เด็กหรือพี่คนโตแอบเจ็บปวด
เอ้ยไรอะ แม่เคยให้เราก่อนให้เราคนเดียวทำไมอยู่ มาสั่งเราให้เราให้น้องก่อนอะ จริง ๆ ถ้าพูดเชิญชวนขออนุญาติเค้าหน่อยส่วนใหญ่เด็กจะทำตามเเล้วจะรักน้องด้วยซ้ำไป

แต่ว่าเราก็เติบโตมากับการสั่งให้แบ่งปัน น้อง สั้่งให้เสียสละ แต่ว่าเราไม่ได้สอนผ่านการกระทำที่เชิญชวนเท่าไหร่ ร้อยทั้งร้อยหลายๆ บ้าน พอมีเด็กเล็ก ก็เอาละ อย่าแกล้งน้อง แบ่งน้องก่อนสิ
 แต่ว่าพอจริง ๆ พอเค้าโตขึ้นไอ้อาการอยากได้ของเหมือนกันมันก็จะหายไปเองละแล้วผู้ใหญ่ก็คิดเอาเองว่า ไม่เห็นจะมีอะไรเลย โตขึ้นก็ไม่เห็นจะมีอะไรเสียหาย ผู้ใหญ่หลายท่านก็จะบอกว่า ป้าก็เลี้ยงลูกป้ามาแบบนี้จนตอนนี้โตหมดแล้ว เค้าก็รักกันดีนะ คำว่าพี่น้องอะมันต้องรักกันอยู่แล้วละ แต่ว่าให้รักกันแบบไม่ต้องเหนื่อยเราตอนที่เค้าเด็ก ๆ ได้มันก็ดีนะคะ คือไม่ต้องมีปัญหาเด็กตีกัน ไม่เห็นเหรอคะบางบ้านเด็กพี่น้องกันตีกันตลอดเวลา หรือบางครอบครัวอาจจะดูดีไม่มีปัญหาก็ได้ดูพี่ยอมน้องตลอดเวลา ทั้งที่โดนสั่งแบบนี้ แต่ว่าหารู้ไม่ก็จะไม่ยอมได้ไงไม่ยอมน้องพี่ก็แย่สิโดนเละแน่ ทั้งดุ ทั้งว่า บางบ้านหนักหน่อยมีประชดกับเด็กอีก เช่น โอ้ยเป็นพี่อะไรไม่ยอมเสียสละ อันนี้แนวทำร้ายเด็กจัง
เด็กก็เลยยอมๆไปเหอะ (อันนี้เคยคุยกับคนที่ต้องยอมน้องตลอดเวลาตอนเด็กเค้าเล่าให้ฟังนะคะไม่ได้นั่งสมาธิแล้วคิดเอาเอง เค้าเล่าว่า บ้านเค้าสั่งมาว่าอย่างไงต้องยอมน้องตลอด จนเค้าเซ็งเบื่ออะ เลิกมีปากมีเสียงดีกว่า แต่ว่าถามว่าลึกในใจ ไม่ได้ยอมจากความรัก แต่ว่ายอมจากความเซ็งในความเป็นพี่ แล้วพอโตขึ้นน้องเค้าก็ค่อนข้างเอาแต่ใจ อันนี้ที่เค้าเล่านะคะ)
ลองดูย้อนไปดีดี ปัญหาอาจจะไม่ได้เกิดจากเด็กนะคะ อาจจะเกิดจากผู้ใหญ่ที่เลี้ยงนะคะ คำพูด คำสั่ง ตลอดเวลา

เด็กโตกว่าก็ต้องจำนนไปว่า อืมมให้ก่อน เดี่ยวไม่งั้นโดนว่า คือลึก คงไม่ได้ให้เพราะว่าอยากเสียสละเท่าไหร่ (มั้ง) เพราะว่าธรรมชาติของเด็กมักจะอยากได้ของสิ่งเดียวกัน อันเดียวกัน เหมือนกัน

ทางแก้จริง ๆบ้านที่มีเด็กวัยเล็ก ไล่ ๆ ไม่จำเป็นต้องพี่น้องจากพ่อแม่เดียวกันนะคะ ลูกพี่ลุกน้องก็ด้วยเพราะว่าสถานการณ์ที่บ้านก็ลูกพี่ลูกน้องคะ
 กันถ้าเราจะซื้อของให้เค้า สำหรับแนนนะคะที่ทำมาเเล้วได้ผลคือ
ซื้ออย่างเดียวกัน สิ่งเดียวกัน สีเดียวกัน แบบเดียวกัน ไปเลย เพราะว่า เด็กอย่างที่บอกของอย่างเดียวกันเท่านั้นที่อยากได้ (ทำประหนึ่งว่าคุณมีลูกแฝดไปเลย)

หรืออีกกรณีพาไปเลือกเองให้เลือกกันเองแล้วบอกว่าเลือกแล้วเเบ่งกันเล่นนะ เค้าจะมีวิธีการตกลงกันเอง(ไม่ต้องไปยุ่งมากไม่ต้องทำตัวเป็นผู้กำกับตลอดเวลา )

หรือบังเอิญว่าซื้อมาเเล้วมันดันคนละแบบ คนละสี ก็อาจจะใช้วิธีจับสลาก(อันนี้ต้องอธิบายให้เค้าเข้าใจว่าได้อะไรคืออันนั้น)

หรือว่าเด็กไม่เข้าใจอีก ก็ให้เค้าตกลงกันเองก่อนว่าใครอยากได้อันไหน ซึ่งจริง ๆ คำตอบมันคืออันเดียวกันนั้นละ คราวนี้ละเราต้องเข้าโหมดที่ว่า โอเคอยากได้อันเดียวกันเลย เอางี้ละกัน ของนี้แบ่งกันเล่นนะ เวลาเกิดเหตุการณ๊์แบบนี้แนนก็จะใช้วิธีบอกโชกุนว่า ด้วยควาที่เราเป็นพี่ใหญ่ (ให้เครดิตเค้าหน่อย) รอบนี้เราเสียสละให้น้องเล่นอันนี้ไปก่อนแล้วเดี่ยวอยากเปลี่ยนสีก็ไปแบ่งกันเล่นนะ แต่ว่ารอบหน้า เราจะให้คนพี่เลือกก่อนนะ คือเราต้องอย่าสอนให้แต่คนพี่เสียสละอย่างเดียวสอนทั้งทีเเนนว่าสอนไปเลยสองคนเลยดีกว่าเพราะว่าวันหนึ่งข้างหน้า คนที่เล็กกว่าเค้าต้องมีโอากาสเป็นพี่เหมือนกัน ถ้าเราฝึกแต่ว่าไม่ได้ ต้องให้คนโตเสียสละตลอดเวลา แล้วคนที่สองละ เค้าจะเรียนรู้คำว่าเสียสละ เมื่อไหร่ ต้องรอให้เค้ามีน้องอีกคน มันก็จะสายเกินไป ก็ได้ ในความคิดของแนนคือแนนคิดว่าทุกคนเท่าเทียมแต่ว่าสิทธิ์ในการเลือกของมันก็ต้องดูตามสถานการณ์ว่าใครจะได้มีสิทธิ์เลือกในคราวนี้ก่อน ควรจะสลับๆ กันไม่ใช่ฝ่ายใดได้อยู่ฝ่ายเดียวอะคะ

ทิ้งท้ายคะ ที่เขียนมาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ที่ประสบกับลูกตัวเองเเล้วอะคะ แล้วเราใช้หลักธรรมะ และ หลักธรรมชาติ ในการที่เอาใจเค้ามาใส่ใจเราในการตัดสินนะคะ ไม่ได้เป็นนักวิชาการ แต่อย่างใด บางคนอาจจะแบบ รู้ดีเหลือเกิน จะบอกว่าเปล่านะคะไม่ได้รู้ดี ไม่ได้เก่งกว่าใคร แต่ว่าแค่เวลาเลี้ยงลูกและหลาน ในเวลาเดียวกัน จะใช้หลักธรรมะ ที่เเสนธรรมดา ตัดสินคะ ไม่ได้เป็นนักวิชาการอาจารย์ด้านเด็กหรอกนะคะ เเค่เรียนมาทางด้านเด็ก แต่ว่าชอบและเวลาเลี้ยงอยากให้เค้าเป็นคนที่มีสภาพจิตใตที่สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สังคมในปัจจุบันอยู่ยากนะคะควรสร้างคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์มาก ๆ หน่อย ไม่อยากให้ลูกโตขึ้นเเล้วทำปัญหาให้สังคมคะ และอีกอย่างที่เอามาเขียนเล่าคือแค่อยากเเชร์ประสบการณ์ซึ่งคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ นะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น