วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

พลังของคำพูด ที่บางทีผู้ใหญ่อย่างเราอาจะมองข้าม

วันนี้อยากจะเสนอในเรืองคำพูดที่ตีตราเด็ก อำนาจของคำพูด

คนที่เลี้ยงเด็กทุกคนย่อมรู้ดีว่าไม่มีเด็กคนไหนน่ารักตลอด 24 ชม.ตลอด 365 วัน ในแต่ละวันแต่ละเดือนแต่ละปีที่เค้าเติบโต สิ่งที่ตามมาพร้อมความน่ารัก ความฉลาดของเด็กตัวน้อย ๆ คือ ปัญหาตามวัย ซึ่งพ่อแม่และคนเลี้ยงมีหน้าที่ทำความเข้าใจวัยของเด็กและช่วยเหลือเด็กให้ผ่านพ้นไปได้ ด้วยดี

ปัญหาของเด็กมีมากมาย หนึ่งในนั้นที่เบสิคมากคือ เรื่องการร้องไห้ ซึ่งในการร้องไห้มีหลายระดับ ระดับเบา ๆ จนถึง ระดับเยอะๆ เเต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หน้าที่ของเราคือไม่ใช่ซ้ำเติม ตีตรา ใด ๆ กับเด็ก ทุกสิ่งจะผ่านไปได้ต้องช่วยเหลือกัน จริง ๆ การเลี้ยงเด็กมันเหมือนกันทำงานเป็นทีมนะคะ ควรมีการพูดจาให้กำลังใจกันมากกว่า ที่จะจับจ้องว่ามีปัญหาตรงไหน

อยากให้ผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านลองนึกดูว่า พฤติกรรมที่ดูไม่น่ารักแค่เพียงชั่วครู่สามารถลบภาพความน่ารักออกไปได้หมดเลยเชียวหรือ ผู้ใหญ่บางท่านไม่เข้าใจก็ ว่าและตำหนิทันทีกับพฤติกรรมเด็กที่ไม่เหมาะสมอาทิเช่น  ก้าวร้าว เอาแต่ใจ อารมณ์รุณแรง ไม่น่ารัก เกเร  เป็นต้น

โดยส่วนตัวก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็ก แต่ว่าเเค่รู้สึกว่า บางทีเราควรยุติธรรมกับพวกเค้า ผู้ซึ่งอายุยังไม่มากไม่มาย และไม่มีทางอธิบายเท่าไหร่หนัก คิดว่า จริง ๆ ถ้าเด็กไม่ได้เป็นคนที่มีพฤติกรรมทำนองนี้ตลอดทุกครั้งก็จงอย่าเพิ่งตกใจ กรี๊ดร้อง และด่วนสรุปในทันทีขนาดนั้น คือ แทนที่เราจะไปด่วนสรุปแล้วตีตรา( label)
       "ขออธิบายถึงคำว่า การตีตรา เป็นคำพูดที่ผู้ใหญ่ไปนิยามให้กับเด็กและ การตีตราในสิ่งที่ไม่  ปรารถนา เป็นการง่ายมากที่จะตีตราที่ไม่เป็นประโยชน์ให้แก่เด็ก ซึ่งอาจจะติดตัวเธอ และมีอิทธิพลต่อภาพการมองตัวเองไปจนเติบโตเมื่อเป็นผู้ใหญ่ "(นำมาจากหนังสือ เด็กตามธรรมชาติ สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา หน้า 90) 

เด็กในทันทีนั้น เราเปลี่ยนมาเป็นช่วยเหลือเด็ก ค่อพูดค่อยจากับเด็กน่าจะดีกว่า ดีกว่าไปสรุปเรียบร้อยเลยทันทีว่า โอ้ยเป็นเด็กงี้ ๆ เพราะว่า เค้าไม่ได้มีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยครั้งนี้แค่ครั้งแรกและครั้งเดียวอยู่ ยิ่งถ้าเราไป ตื่นเต้นตกใจมาก และตำหนิมาก พฤติกรรมนี้อาจจะยิ่งไปกันใหญ่หรือไม่  เพราะว่า อำนาจของถ้อยคำเชิงบวกมีพลังมากแค่ไหน คำพูดถ้อยคำเชิงลบก็มีพลังมากเท่านั้น แล้วเหตุใด ผู้ใหญ่(โดยเฉพาะคนที่มีความสำคัญต่อตัวเด็ก) พูดง่าย ๆ คนในครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับเด็กน้อย ๆ เหล่านี้ จะส่งผ่านถ้อยคำเหล่านี้ให้เด็กฟัง หรือ คนเลี้ยงเด็กฟัง เพราะว่าถ้าเด็กยังเล็ก พูดบ่อย ๆ ก็สะสม และสั่งสอนให้เค้ามีพลังเชิงลบในสิ่งที่เราพูดนั้นละ ส่วนตัวคนเลี้ยงเด็กนั้นพอได้ยินถ้อยคำเชิงลบ แน่นอนคงไม่มีใครมีกำลังใจอะไรมากมาย คงจะหดหู่ด้วยซ้ำไป ว่า อืม เกิดอะไรขึ้นน้า เราทำอะไรผิดพลาด ทำไมลูกเราทำพฤติกรรมเหล่านี้นะ (ณ ที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถตำหนิเด็กนะคะ แต่ว่าคิดว่าควรเเทนที่การตำหนิด้วยการพูดคุยในหลักเหตุผลกันเสียมากกว่า ว่าเกิดอะไรขึ้น เเล้วพอจะช่วยกันแก้อย่างไรดีน้า คุยกันยื่นมือเข้ามาช่วย พลังเหล่านี้จะทำให้มีกำลังใจทั้งผู้เลี้ยงเด็ก และ ตัวเด็กเองมากกว่า ไม่รู้นะคะนี่พูดในฐานะ เคยมีประสบการณ์เหล่านี้มาก่อน รู้สึกได้ว่า หดหู่มาก เวลาที่ลูกทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในสายตาผู้ใหญ่ไป แล้วโดนตำหนิ คือ ลูกไม่รู้เรื่องเท่าไหร่หรอกคะ แต่ว่าตัวแม่ ซึ่งเรายอมรับว่าเราทุ่มเทเต็มที่กับลูก เวลาโดนแบบนี้เราจะรู้สึก หดหู่ แต่ว่าถ้าเราได้ยินคำพูดเชิงเข้าใจให้กำลังใจเราจะมีพลังที่ว่า จะแก้ไขยังไงต่อไป มีคนเข้าใจ แล้วปัญหาผ่านไปได้อย่างรวดเร็วกว่า

อยากให้สังคมไทยมีคนเข้าใจเด็กและปฎฺิบัติต่อเด็ก เคารพสิทธิเด็กเหมือนเด็กเป็นผู้ใหญ่คนนึง คือ ควรจะให้เกียรติเค้า ฟังเหตุผลกันก่อน อย่าใช้คำพูดเพื่อแค่ว่าอยากให้เราหายโมโห ณ ตอนนั้น หรือการทำโทษเเรง ๆ กับเด็ก เพราะว่าเค้าก็กำลังเรียนรู้และให้เกียรติ คุณและคนอื่นอย่างที่คุณทำกับเค้าเหมือนกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น